Lecture


บทเรียน

จัดระบบโครงสร้า้างข้อ้อมูล(Information Architecture)

Phase 1 : สำรวจปัจจัยสำคัญ(Research)
1. รู้จักตัวเอง-กำหนดเป้าหมายและสำรวจความพร้อม
2. เรียนรู้ผู้ใช้-ระบุกลุ่มผู้ใช้และศึกษาความต้องการการ
3. ศึกษาคู่แข่ง-สำรวจการแข่งขันและการเรียนรู้คู่แข่ง
สิ่งที่ได้รับ
1. เป้าหมายหลักของเว็บ
2. ความต้องการของผู้ใช้

3. กลยุทธ์ในการแข่งขัน


Phase 2 : พัฒนาเนื้อหา(Site Content)
4. สร้างกลยุทธ์การออกแบบ
5. หาข้อสรุปขอบเขตเนื้อหา
สิ่งที่ได้รับ
1. แนวทางการออกแบบเว็บ
2. ขอบเขตเนื้อหาและการใช้งาน

3. ข้อมูลที่ถูกจัดอย่างเป็นระบบ


Phase 3 : พัฒนาโครงสร้างเว็บไซท์(Site Structure)
6. จัดระบบข้อมูล
7. จัดทำโครงสร้างข้อมูล
8. พัฒนาระบบเนวิเกชัน
 สิ่งที่ได้รับ
1. แนวทางการออกแบบเว็บ
2. ขอบเขตเนื้อหาและการใช้งาน

3. ข้อมูลที่ถูกจัดอย่างเป็นระบบ


Phase 4 : ออกแบบและพัฒนาหน้าเว็บ(Visual Design)
9. ออกแบบลักษณะหน้าตาเว็บ
10. พัฒนาเว็บต้นแบบและข้อกำหนดสุดท้าย
สิ่งที่ได้รับ
1. ลักษณะหน้าตาของเว็บ
2. เว็บต้นแบบที่จะใช้ในการพัฒนา
3. รูปแบบโครงสร้างของเว็บ

4. ข้อกำหนดในการพัฒนาเว็บ


Phase 5 : พัฒนาและดำเนินการ (Production & Operation)
11. ลงมือพัฒนาเว็บ
12. เปิดเว็บไซท์
13. ดูแลและพัฒนาต่อเนื่อง
สิ่งที่ได้รับ
1. เว็บที่สมบูรณ์
2. เปิดตัวเว็บและทำให้เป็นที่รู้จัก
 ความสำคัญของระบบเนวิเกชั่น
การออกเเบบโครงสร้างข้อมูลที่ดีช่วยให้ผู้ใช้เข้าถึงข้อมูลได้ง่ายขึ้น ส่วนระบบเนวิเกชั่นเป็น
ส่วนเสริมในการสร้างสิ่งเเวดล้อมที่สื่อความหมายเพื่อช่วยให้ผู้ใช้ท่องเว็บได้อย่างคล่องตัว
โดยไม่หลงทาง โดยทำให้ผู้ใช้สามารถรู้ได้ว่าตัวเองกำลังอยู่ที่ไหน ได้ผ่านที่ใดมาบ้างเเละ
ควรจะไปไหนต่อ
 
 รูปแบบของระบบเนวิเกชั่น เเบ่งออกเป็น 4รูปแบบ

1.ระบบเนวิเกชั่นเเบบลำดับขั้น
เป็นเเบบพื้นฐาน คือ มีหน้าโฮมเพจหนึ่งหน่าเเละมีลิงค์ไปยังหน้าอื่นๆ ภายในเว็บถือเป็บลำดับ
ขั้นอย่างหนึง่เเล้ว
2.ระบบเนวิเกชั่นเเบบโกลบอล
เป็นระบบที่ช่วยเสริมข้อจำกัดของระบบเนวิเกชั่นเเบบลำดับขั้น ทำให้สามารถเคลื่อนที่ได้ทั้ง
ในเเนวตั้งเเละเเนวนอนอย่างมีประสิทธิภาพ
3. ระบบเนวิเกชั่นเเบบโลคอล
สำหรับเว็บที่มีความซับซ้อนมากอาจต้องใช้ระบบเเบบโลคอลหรือเเบบเฉพาะส่วน
4. ระบบเนวิเกชั่นเฉพาะที่
เป็นเเบบเฉพาะที่ตามความจำเป็นของเนื้อหาซึ่งก็คือลิงค์ของคำที่ฝั่งอยู่ในประโยค เเต่ไม่ควร
ใช้มากจนเกินไป เพราะผู้ใช้อาจ มองข้ามไปทำให้ไม่สนใจ
 
องค์ประกอบของระบบเนวิเกชันหลัก
 
ระบบเนวิเกชันที่สำคัญและพบมากที่สุด คือเนวิเกชันที่อยู่ในหน้าเดียวกับเนื้อหา
ไม่ใช่เนวิเกชันที่อยู่ในหน้าแรกเนื่องจากเมื่อผู้ใช้ผ่านหน้าแรกเข้าไปสู่ภายในเว็บแล้ว
ก็ไม่อยากจะกลับมาเริ่มต้นใหม่ที่หน้าแรกทุกครั้งก่อนจะเข้าไปดูเนื้อหาในส่วนอื่น ๆ ต่อ 
มีได้หลายรูปแบบ ได้แก่ เนวิเกชันบาร์, เนวิเกชันระบบเฟรม, pull down menu,
pop up menu, image map และsearch box
 
เนวิเกชันบาร์ 
 
ระบบเนวิเกชันบาร์เป็นพื้นฐานที่ใช้ได้หลายรูปแบบ ทั้งแบบลำดับขั้น แบบโกลบอล
และแบบโลคอล โดยทั่วไปเนวิเกชันบาร์จะประกอบด้วยกลุ่มของลิงค์ต่าง ๆ ที่อยู่
รวมกันในบริเวณหนึ่งของหน้าเว็บ อาจเป็นตัวหนังสือหรือกราฟิก ก็ได้ 
 
วิเกชันบาร์ระบบเฟรม
 
คุณสมบัติของเฟรมจะทำให้สามารถแสดงเว็บหลาย ๆ หน้าในหน้าต่างบราวเซอร์เดียวกัน
โดยแต่ละหน้ายังเป็นอิสระต่อกัน การลิงค์เฟรมที่เป็นเนวิเกชันบาร์สามารถควบคุมการแสดงผล
ของข้อมูลอีกเฟรมหนึ่งได้ ส่วนที่เป็นเนวิเกชันบาร์จะปรากฏอยู่คงที่เสมอ ในขณะที่ผู้ใช้เลื่อนดู
ข้อมูลใด ๆ ในอีกเฟรมหนึ่ง การแยกระบบเนวิเกชันแบบนี้ทำให้ผู้ใช้เข้าถึงระบบเนวิเกชันได้
ตลอดเวลาและยังคงความสม่ำเสมอทั่วทั้งไซท์ 
 
Pull Down Menu
 
เป็นส่วนประกอบของฟอร์มที่มีลักษณะเด่นคือ มีรายการให้เลือกมากมายแต่ใช้พื้นที่น้อย
เมื่อเทียบองค์ประกอบชนิดอื่น ๆ วิธีนี้จะช่วยให้ผู้ใช้เลือกรายการย่อยเข้าไปสู่เป้าหมาย
ได้อย่างสะดวกเมนูแบบนี้เหมาะสำหรับข้อมูลประเภทเดียวกันที่มีจำนวนมาก
เช่น รายชื่อประเทศ จังหวัด หรือ ภาษา แต่ไม่เหมาะกับข้อมูลจำนวนน้อยหรือข้อมูลต่างประเภทกัน
และไม่ควรใช้pull down menu มากจนเกินไป
 
 Pop Up Menu
 
เป็นเมนูอีกรูปแบบหนึ่งที่มีลักษณะคล้าย Pull downmenu แต่รายการย่อยของเมนูจะปรากฏขึ้นเองเมื่อผู้ใช้นำ
เมาส์ไปวางเหนือตำแหน่งของรายการในเมนูหลัก จากนั้นผู้ใช้ก็สามารถเลื่อนเมาส์ไปเลือกรายการต่าง ๆ ที่ปรากฏขึ้น
ได้ วิธีนี้ช่วยให้หน้าเว็บดูไม่รกเกินไปด้วยลิงค์จำนวนมากและยังช่วยประหยัดพื้นที่แสดงรายการย่อยของเมนูได้
 
 
การเลือกใช้สีให้เว็บไซต์
 
 เลือกใช้สีสำหรับเว็บไซต์
สีสันในเว็บเพจเป็นสิ่งที่สำคัญมากในการดึงดูดความสนใจของผู้ใช้ เนื่องจากสิ่งเเรกที่ผู้ใช้
มองเห็นจากเว็บก็คือสี ซึ่งเป็นสิ่งกำหนดบรรยากาศเเเละความรู้สึกการใช้สีพื้นใกล้เคียงกับ
สีตัวอักษร บางครั้งอาจสร้างความลำบากในการอ่าน ดังดั้นควรหลีกเลี่ยงสีที่มีมากจนเกินไป
การใช้สีที่กลมกลืนกันช่วยให้เว็บไซต์ดูน่าชมมากขึ้น
ประโยชน์ของสีในเว็บไซต์
  • สีสามารถสร้างอารมณ์ของเว็บเพจ
  • สีสามารถใช้ในการดึงดูดความสนใจของผู้อ่าน
  • สามารถส่งเสริมเอกลักษณ์หน่วยงาน หรือองค์กรนั้นๆ
  • สีสามารถนำไปใช้ในการเเบ่งบริเวณต่างๆ ออกจากกัน
  • สามารถชักนำสายตาผู้อ่านให้ไปยังทุกบริเวณในหน้าเว็บเพจที่เราต้องการ 
  •  สีช่วยเชื่อมโยงบริเวณที่ได้รับการออกแบบเข้าด้วยกัน
ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับสี
สีขั้นที่ 1 คือ แม่สี ได้แก่ สีแดง   สีเหลือง  สีน้ำเงิน
สีขั้นที่ 2 คือ สีที่เกิดจากสีขั้นที่ 1 หรือแม่สีผสมกันในอัตราส่วนที่เท่ากัน
จะทำให้  เกิดสีใหม่ 3 สี ได้แก่สีแดง ผสมกับสีเหลืองได้สี ส้ม สีแดง ผสมกับสีน้ำเงินได้สีม่วง
สีเหลือง ผสมกับสีน้ำเงิน  ได้สีเขียว
สีขั้นที่ 1 สีขั้นที่2
สีขั้นที่ 3 คือ สีที่เกิดจากสีขั้นที่ 1 ผสมกับสีขั้นที่ 2 ในอัตราส่วนที่เท่ากันจะได้สีอื่น ๆ 
จะเกิดสีขึ้นอีก 6สี
 สีแดง ผสมกับสีส้ม  ได้สี ส้มแดง
                   สีแดง ผสมกับสีม่วง  ได้สีม่วงแดง
                   สีเหลือง ผสมกับสีเขียว ได้สีเขียวเหลือง
                   สีน้ำเงิน ผสมกับสีเขียว  ได้สีเขียวน้ำเงิน
                   สีน้ำเงิน ผสมกับสีม่วง  ได้สีม่วงน้ำเงิน
                   สีเหลือง ผสมกับสีส้ม ได้สีส้มเหลือง


วงล้อสี 
เป็นรูปแบบหนึ่งในการจัดจัดเรียงสีทั้งหมดไว้ในวงกลม เเละเป็นการจัดลำดับเฉดสีอย่างมีเหตุผลเเละง่ายนต่อการนำไปใช้ 

 สำหรับในเรื่องวรรณะของสี จะแบ่งออกเป็น สีวรรณะร้อน และ สีวรรณะเย็น ได้ดังรูป